Responsive image
เมนูหลัก
หน้าหลัก
เกี่ยวกับตำบล
ประวัติความเป็นมา
สภาพทั่วไป
สภาพสังคม
สภาพทางเศรษฐกิจ
การบริการพื้นฐาน
สินค้า OTOP
สถานที่สำคัญ/แหล่งท่องเที่ยว
เกี่ยวกับเรา
วิสัยทัศน์/พันธกิจ
ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
โครงสร้างส่วนราชการ
อำนาจหน้าที่
แผนพัฒนาท้องถิ่น
ข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจ
การบริหารงานบุคคล
บุคลากร
ข้อมูลผู้บริหาร
สมาชิกสภา
สำนักปลัด
กองคลัง
กองช่าง
กองการศึกษา
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
โครงสร้างบุคลากร
ข่าวสารตำบล
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
ข่าวรับสมัครโอน/ย้าย
แผนงานต่าง ๆ
รายงานประจำปี
E-Service
ITA
ITA ปี พ.ศ. 2564
มาตรฐานการให้บริการ/มาตรฐานการปฎิบัติงาน
คู่มือมาตรฐานการให้บริการ
คู่มือปฏิบัติงาน
สถิติการให้บริการ
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์
โครงสร้างองค์กร ม.7 (1)
อำนาจหน้าที่ ม.7 (2)
สถานที่ติดต่อ ม.7 (3)
กฏ มติ คณะรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้อง ม.7(4)
ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด ม.7(5)
ผลการพิจารณาฯ ม.9(1)
นโยบายหรือการตีความ ม.9(2)
แผนงาน โครงการ งบประมาณ ม.9(3)
คู่มือหรือคำสั่ง ม.9(4)
สิ่งพิมพ์ที่อ้างถึง ม. 7 วรรคสอง ม.9(5)
สัญญาสัมปทาน ผูกขาด ร่วมทุน ม.9(6)
มติ ครม. หรือมติคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมาย หรือ มติ ครม. ม.9(7)
ข้อมูลข่าวสารอื่นที่คณะกรรมการกำหนด ม.9(8)
สัญญาอื่นๆ
เอกสารอื่นๆ ที่ต้องรายงาน
ดัชนีรวม/ดัชนีประจำแฟ้ม
การประเมินผลการให้บริการ
รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจการให้บริการ
แบบฟอร์มสำรวจความพึงพอใจ
สรุปผลความพึงพอใจ
สถิติผู้เข้าใช้บริการ
กระดานถาม-ตอบ / ข้อคิดเห็น
ข่าวสารเครือข่าย
ข่าวประชาสัมพันธ์เครือข่าย
ข่าวกิจกรรมเครือข่าย
ปฏิทินกิจกรรมเครือข่าย
ข่าวรับสมัครโอน/ย้ายเครือข่าย
สินค้า OTOP เครือข่าย
ระเบียบ
พระราชบัญญัติ หรือ พระราชกฤษฎีกา
กฎ ระเบียบ คำสั่ง และประกาศกระทรวง
เทศบัญญัติ
รายงานการประชุม
ระเบียบเทศบาล
สำนักปลัด
กองคลัง
กองการศึกษา
กองสาธารณสุข
กองช่าง
เว็บบอร์ด
กระดาน ถาม - ตอบ
ข้อเสนอแนะ ติชม
รับเรื่องราวร้องทุกข์
ร้องเรียนการปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่/ร้องเรียนการจัดซื้อจัดจ้าง
การป้องกันและต่อต้านการทุจริต
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์
ช่องทางการรับฟังความคิดเห็น
การประเมินผลการให้บริการศูนย์ฯ / ถาม-ตอบ
แบบฟอร์มสำรวจความพึงพอใจ
สรุปผลความพึงพอใจ
สถิติผู้เข้าใช้บริการ
กระดานถาม-ตอบ / ข้อคิดเห็น
การร้องเรียนร้องทุกข์
ช่องทางการแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
ช่องทางการร้องเรียนร้องทุกข์
ติดต่อเรา
ติดต่อเรา
แผนที่ตั้งหน่วยงาน
คู่มือประชาชน
ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
ศูนย์ยุติธรรมชุมชน
No Gift Policy
นโยบายไม่รับของขวัญ No Gift Policy

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

สถานที่สำคัญ/แหล่งท่องเที่ยว
ประวัติพระเจ้าแสนสามหมื่น
Responsive image
ประวัติ หลวงพ่อพระเจ้าแสนสามหมื่น ณ วัดสังขลิการาม อ.โซ่พิสัย จ.บึงกาฬ
         
ประวัติพระเจ้าแสนสามหมื่น
 

     พระเจ้าแสนสามหมื่น สร้างในสมัยเชียงแสนเป็นราชธานี ซึ่งประมาณ ๘๐๐ ปีมาแล้ว เจ้าอนุวงษ์แห่งนครเวียงจันทน์ได้อัญเชิญพระเจ้าแสนสามหมื่น มาประดิษฐ์สถานไว้ในหอไตร(เวียงจันทน์)เป็นเวลาหลายร้อยปีมาแล้ว
     รูปและขนาดของพระเจ้าแสนสามหมื่น
๑. ความกว้างของบัลลังก์ ชั้นที่ ๑
๒.ความกว้างของบัลลังก์ ชั้นที่ ๒ 
๓. วัดรอบบัลลังก์ 
๔. หน้าตักปฏิมากรณ์ 
๕. วัดรอบตัวรวมทั้งสองแขน 
๖. วัดรอบคอ 
๗. ใบหูยาว 
๘. หน้าผากกว้าง 
๙. หน้าผากจรดปลายคาง 
๑๐.ยอดเศียรยาว 
๑๑. จากบัลลังก์ชั้นที่ ๑ ถึงเศียรสูง 
๑๒. หน้าอกระหว่างหัวนมทั้งสองข้าง
๑๙ นิ้ว
๑๗ นิ้ว
๓๒ นิ้ว
๑๑ นิ้ว
๑๗.๕ นิ้ว
๖.๕ นิ้ว
๓ นิ้ว
๒.๕ นิ้ว
๓ นิ้ว
๔ นิ้ว
๓๒ นิ้ว
๒ นิ้ว
      ลักษณะทั้งหมดนี้วัดไว้เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ เพื่อปกป้องการสูญหาย กรรมการวัดทั้งหมดและชาวบ้านโซ่ ได้พร้อมกันวัดไว้เพื่อเป็นหลักฐานเพื่อ เป็นอนุสรณ์ของพระพุทธศาสนาต่อไป
   
     หลวงพ่อพระเจ้าแสนสามหมื่น : ได้มาอยู่วัดนิโคตร(วัดมณีโคตร) บ้านปากห้วยหรือบ้านปากน้ำ ปัจจุบันคืออำเภอโพนพิสัย ซึ่งเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๒๓ ชาวบ้านโส่หรือชาวโซ่ ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ในบ้านโซ่ปัจจุบัน ประมาณ ๒๐–๓๐ หลังคาเรือน ครั้นต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๔๕ ชาวบ้านปากน้ำคุ้มวัดจุมพล อำเภอโพนพิสัยในปัจจุบันได้อพยพครอบครัวมาอยู่ร่วมกับชาวบ้านโส่หรือโซ่ได้ ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมห้วยซำ ปัจจุบันคือท้ายอ่างเก็บน้ำด้านทิศตะวันตก ในเวลาต่อมาเห็นว่าบ้านเรือนจะเจริญรุ่งเรืองไปเรื่อย ๆ และสถานที่ตั้งหมู่บ้านก็เป็นที่ต่ำ ไม่พอที่จะขยายบ้านเรือนออกไป จึงพากันย้ายครอบครัวหาที่ตั้งใหม่ และได้พบวัดเก่าแก่โบราณวัดหนึ่งทรุดโทรมมาก แต่ใบเสมายังอยู่ครบจึงพากันบูรณและปฏิสังขรณ์วัดขึ้นมาใหม่ ในตอนนั้นบริเวณวัดเป็นป่าดงดิบมีสัตว์ป่าดุร้ายอยู่มากดังนั้นพวกชาวบ้าน จึงได้พากันสร้างบ้านอยู่ใกล้กับวัด จนต่อมาเมื่อหมู่บ้านได้เจริญขึ้น มีผู้คนอพยพมาอยู่เพิ่มมากขึ้นพระอธิการจันที มังศรี เห็นว่ายังไม่มีพระประธานอยู่ประจำโบสถ์ จึงเดินทางไปอัญเชิญพระเจ้าแสนสามหมื่นซึ่งขณะนั้นประดิษฐ์สถานอยู่ที่วัดนิ โคตร ที่วัดนิโคตรนี้มีพระแสนกับพระเสียงประดิษฐ์สถานอยู่ ซึ่งตามประวัติเดิมนั้นที่นครเวียงจันทน์ในสมันนั้นพระพุทธศาสนาเจริญ รุ่งเรืองมาก และในขณะนั้นชาวลาวและชาวไทยมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน จึงมอบพระพุทธรูปให้แก่ชาวไทย คือพระศุกร์ พระเสริม พระใส พระแสน และพระเสียง โดยได้อัญเชิญลงแพล่องมาตามลำน้ำงึม เหตุที่นำแพล่องมาตามลำน้ำงึมนั้น เพราะที่เวียงจันทน์นั้นทำสงครามกับข้าศึกอยู่จึงหลบข้าศึกล่องแพลงมาเรื่อย ๆ ก็เกิดแพแตกแท่นพระศุกร์ ตกลงไปในน้ำ ที่บริเวณนั้นชาวบ้านจึงเรียกว่าบ้านเวิ่นแท่นและเมื่อล่องเรือมาถึงปากน้ำ งึม เกิดแพแตกอีกคราวนี้พระศุกร์ได้ตกลงน้ำ แต่เมื่อจะนำพระศุกร์ที่ตกน้ำขึ้นแพก็ไม่สามารถนำขึ้นมาได้ไม่ว่าจะใช้วิธี ใดๆก็ตามและต่อมาพระศุกร์ก็ได้สูญหายไปไม่มีผู้ใดพบเห็นอีก และที่บริเวณพระศุกร์ตกน้ำนั้นเรียกว่าเวินศุกร์ ต่อมาเมื่อซ่อมแพเสร็จแล้วจึงนำแพล่องมาถึงโพนพิสัย ชาวโพนพิสัยจึงอัญเชิญพระเจ้าแสนสามหมื่นกับพระเสียงไว้ที่วัดนิโคตร และเมื่อแพได้ล่องมาถึงหนองคายชาวหนองคายจึงได้อัญเชิญพระใสประดิษฐ์สถานไว้ ที่วัดโพธิ์ชัย ส่วนพระเสริมนั้นได้ถูกอัญเชิญไปประดิษฐ์สถานที่วัดประทุมวรารามกรุงเทพฯ เมื่อเจ้าอธิการจันที มังศรี ได้ไปอัญเชิญพระเจ้าแสนสามหมื่นจากโพนพิสัยมาประดิษฐ์สถานไว้ที่บ้าน โซ่ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
 
      ครั้นต่อมา พ.ศ. ๒๔๖๒ พระเจ้าแสนสามหมื่นได้ถูกคนร้ายขโมยไปโดยหลบหนีไปทางบ้านหนองยอง ตำบลหนองยอง อำเภอปากคาดในปัจจุบัน โดยคนร้ายได้นำพระเจ้าแสนสามหมื่นไปซ่อนไว้ใต้ต้นดอกเตยนอกหมู่บ้านใกล้กลับบ่อน้ำ ซึ่งในเวลานั้นได้มีหญิงชาวบ้านออกไปตักน้ำพร้อมกับสุนัขหลายตัวเมื่อไปถึง ใต้ต้นดอกเตยที่คนร้ายซ่อนพระเจ้าแสนสามหมื่นไว้สุนัขก็พากันส่งเสียงเห่า แต่หญิงนางนั้นก็ไม่ได้สนใจ พอกลับมาตักน้ำอีกรอบพวกสุนัขก็ยังเห่าไม่หยุด จึงได้เข้าไปดูเห็นพระเจ้าแสนสามหมื่นถูกซ่อนอยู่ใต้ต้นดอกเตย นางตกใจกลัวจึงรีบไปบอกชาวบ้านพวกชาวบ้านก็พากันอัญเชิญไปไว้ที่วัดแล้วก็ ประกาศหาเจ้าของ เมื่อชาวบ้านโซ่ทราบข่าวก็ตามไปดูปรากฏว่าเป็นหลวงพ่อพระเจ้าแสนสามหมื่น จริงจึงได้อัญเชิญกลับมาไว้ที่วัดสังขลิการามเช่นเดิม
 
      ต่อมาเมื่อวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ พระเจ้าแสนสามหมื่นได้ถูกคนร้ายขโมยไปอีกครั้งซึ่งครั้งนี้คนร้ายได้หลบหนี ไปทางบ้านหนองท่มท่ากะดัน เขตอำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร โดยนำไปซ่อนไว้ในน้ำห้วยมาย แล้วต่อมาก็นำไปไว้ที่บ้านของตนเอง ที่อำเภอสว่างแดนดิน พอรุ่งเช้าคนร้ายก็เสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ ภรรยาได้นำพระเจ้าแสนสามหมื่นไปฝากไว้ที่วัดใกล้ๆบ้าน พอตกกลางคืนเจ้าอาวาสไหว้พระสวดมนต์เสร็จก็เข้านอนรุ่งเช้าตื่นขึ้นมาก็ต้อง แปลกใจเพราะนอนเอาหัวลงปลายเท้าและเอาเท้าขึ้นไปเกยหมอนด้วยเหตุนี้เจ้า อาวาสจึงนำพระเจ้าแสนสามหมื่นไปฝากไว้ที่สถานีตำรวจอำเภอสว่างแดนดิน ในคืนนั้นนักโทษที่คุมขังอยู่ได้หนีออกไปโดยไม่มีร่องรอยการงัดกุญแจเลย ทำให้ตำรวจบนโรงพักต่างก็กล่าวหาซึ่งกันและกันว่าเป็นผู้ปล่อยให้นักโทษหลบ หนีไป แต่เมื่อตำรวจพากันไปอธิฐานต่อหน้าพระเจ้าแสนสามหมื่นขอให้นักโทษที่หลบหนี ไปนั้นอย่าได้หนีไปไกล วันต่อมาตำรวจก็จับนักโทษกลับมาได้โดยพบว่าเดินวนเวียนอยู่ในตลาดไม่สามารถ หาทางออกไปจากตลาดได้ และเมื่อจับนักโทษกลับมาแล้วได้ก็สอบถามว่าหนีออกไปได้อย่างไร ซึ่งนักโทษก็ตอบว่าลูกกรงที่ขังอยู่นั้นแยกห่างออกจากกันเป็นศอกสามารถเดิน เข้าออกได้อย่างสบาย ด้วยอภินิหารของหลวงพ่อพระเจ้าแสนสามหมื่นจึงทำให้ตำรวจและชาวบ้านเกรงกลัว ประกาศหาเจ้าของ ซึ่งต่อมาชาวบ้านโซ่ทราบข่าวก็ได้ส่งหลวงปู่ป้อกับนายเผือก ตรีรัตน์ พร้อมผู้ติดตาม ๔-๕ คน ไปรับกลับมา แต่พอนำหลวงพ่อพระเจ้าแสนสามหมื่นไปขึ้นรถก็ไม่สามารถติดเครื่องยนต์ได้ ดังนั้น คณะผู้ติดตามจึงเก็บดอกไม้แต่งเป็นขันธ์ ๕ ขันธ์ ๘ อัญเชิญหลวงพ่อฯพร้อมเทวดาผู้รักษาท่านจึงสามารถเดินทางกลับมาได้ เมื่อมาถึงก็ได้ประกาศให้ชาวบ้านมาสงฆ์น้ำท่าน ก็เกิดอัศจรรย์คือฝนตกลงมาทั้งที่แดดยังออกอยู่ หลังจากนั้นก็อัญเชิญหลวงพ่อพระเจ้าแสนสามหมื่นประดิษฐ์สถานที่วัดสังขลิการาม  จนถึงทุกวันนี้
โพสเมื่อ : 06 มี.ค. 2556